
GMP คืออะไร?
GMP (Good Manufacturing Practice) หรือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต เป็นมาตรฐานสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ
หลักการของ GMP คือ การควบคุมดูแลทุกขั้นตอนในการผลิต ให้สะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับผู้บริโภค เพราะ “อาหาร” คือสิ่งที่เรานำเข้าร่างกายโดยตรง หากขาดมาตรฐาน ก็อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ง่าย

GMP สำคัญยังไง? มาดูแต่ละข้อกันเลย
1.ป้องกันการปนเปื้อนในทุกขั้นตอน
GMP เน้นเรื่องการป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น เชื้อโรค เส้นผม หรือแม้แต่สารเคมีต่างๆ ที่อาจหลุดเข้าไปในอาหารโดยไม่รู้ตัว ทำให้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การผลิต การบรรจุ จนถึงขนส่ง ต้องปลอดภัยและควบคุมความสะอาดตลอดเวลา
2.ควบคุมความสะอาดของสถานที่ผลิตและอุปกรณ์
โรงงานหรือพื้นที่ผลิตต้องมีการออกแบบและดูแลให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ มีการล้างทำความสะอาดเครื่องจักร อุปกรณ์ และพื้นที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ หากอุปกรณ์ไม่สะอาด มีโอกาสที่เชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกจะปนเปื้อนในอาหารได้ง่าย
3.ดูแลสุขอนามัยของพนักงานทุกคน
พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ต้องมีสุขอนามัยที่ดี เช่น
- สวมหมวกคลุมผมขณะปฏิบัติติงาน
- ล้างมือให้สะอาดก่อนทำงาน
- ใส่ถุงมือ หน้ากากอนามัย และชุดที่เหมาะสม
เพราะพนักงานเองก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อาหารปนเปื้อนได้
4.ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบก่อนนำมาใช้
วัตถุดิบทุกอย่างต้องตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทั้งความสดใหม่ แหล่งที่มา และความปลอดภัย ต้องไม่มีสิ่งเจือปนหรือสารตกค้างอันตราย เพราะถ้าเริ่มต้นจากวัตถุดิบไม่ดี ก็ส่งผลถึงคุณภาพอาหารทันที
5.เก็บรักษาสินค้าอย่างถูกวิธี
หลังผลิตเสร็จแล้ว ต้องมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธี เช่น แยกของดิบของสุก ใช้ห้องเย็น หรือห้องเก็บอุณหภูมิเหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพ ไม่ให้เสียหรือเกิดเชื้อโรค ก่อนถึงมือผู้บริโภค
GMP ใช้กับอุตสาหกรรมอะไรบ้าง?
1.อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
- ทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ → กระบวนการผลิต → การเก็บรักษา → การขนส่ง
- เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและอันตรายต่อผู้บริโภค
- ใช้ใน โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป, โรงน้ำดื่ม, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ร้านอาหารใหญ่ๆ, โรงงานขนม
เช่น…- โรงงานผลิตอาหารแช่แข็ง
- โรงงานผลิตเครื่องดื่มบรรจุขวด
- โรงงานขนม ขนมปัง เบเกอรี่
- โรงงานน้ำดื่มและน้ำแข็ง
- โรงงานผลิตอาหารเสริม

ที่มาของภาพ : freepik
2.อุตสาหกรรมยา
- เข้มงวดมาก เพราะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง
- ใช้ควบคุมตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบทางยา → การบรรจุ→การขนส่ง
- ทั้ง ยาสามัญ, เวชภัณฑ์, ยาแผนโบราณ, สมุนไพร ต้องผ่าน GMP
เช่น…- โรงงานผลิตยาเม็ด แคปซูล น้ำเชื่อม
- โรงงานผลิตสมุนไพร
- โรงงานผลิตยาสมุนไพรแผนโบราณ
- โรงงานผลิตเวชภัณฑ์ ยาหยอดตา ยาฉีด
3.อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
- ครีม สบู่ แชมพู โลชั่น ต้องผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP
- เครื่องสำอางเป็นสิ่งที่ต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง มีโอกาสระคายเคืองหรือแพ้ได้
เช่น…- โรงงานผลิตครีมบำรุงผิว
- โรงงานผลิตแชมพู สบู่
- โรงงานผลิตลิปสติก แป้งพัฟ

ที่มาของภาพ : freepik

ที่มาของภาพ : freepik
4.อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
- เครื่องมือแพทย์ต้องปลอดเชื้อและปลอดภัย เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือแพทย์ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ
- GMP ช่วยควบคุมไม่ให้มีสารอันตรายหรือสิ่งปนเปื้อน
เช่น…- โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย
- โรงงานผลิตถุงมือยางทางการแพทย์
- โรงงานผลิตชุด PPE
- โรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์พลาสติก
5.อุตสาหกรรมอาหารสัตว์
- อาหารสัตว์ก็สำคัญ เพราะส่งผลต่อสุขภาพสัตว์
- โรงงานผลิตอาหารสัตว์จำเป็นต้องมี GMP เพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย
เช่น- โรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (สุนัข แมว)
- โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ
- โรงงานอาหารสัตว์ปศุสัตว์ เช่น หมู ไก่ วัว

ที่มาของภาพ : freepik
GMP ไม่ได้ใช้แค่อาหารหรือเครื่องดื่ม แต่ครอบคลุม อุตสาหกรรมสุขภาพและความปลอดภัยทุกอย่าง ที่เกี่ยวกับการบริโภคหรือใช้กับร่างกายมนุษย์และสัตว์ เพราะทั้งหมดล้วนส่งผลต่อชีวิตและสุขภาพโดยตรง ถ้าโรงงานไหนผ่านมาตรฐาน GMP ได้ ถือว่าเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
GMP สำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเราทุกคน
GMP ไม่ใช่แค่กฎระเบียบ แต่คือการสร้างมาตรฐานให้ทุกธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องดื่มปลอดภัยจริงๆ
- ลูกค้ากินแล้วมั่นใจ
- ธุรกิจน่าเชื่อถือ
- ลดความเสี่ยงการโดนร้องเรียนหรือมีปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัย
เรียกได้ว่า GMP เป็นเรื่องที่สำคัญและมองข้ามไม่ได้เด็ดขาด สำหรับใครที่กำลังทำธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม หรือเกี่ยวข้องกับการ เพราะความสะอาด = ความปลอดภัย และเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจนี้

ห้องเย็น คือ อะไร? มีวัตถุประสงค์ในการแช่เย็น อย่างไร?