เคยสงสัยหรือไม่ ว่าเวลามีการนำเข้าเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือวัตถุดิบต่าง ๆ มาจากต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ทางผู้นำเข้ามีวิธีการเก็บรักษาอย่างไร เพื่อให้คงความสดใหม่ จนกระทั่งถึงวันที่ต้องนำส่งเพื่อให้ถึงมือผู้บริโภค หรือแม้กระทั่งตามห้างสรรพสินค้า มีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ของสดอย่างไร คำตอบของคำถามเหล่านี้ คือสิ่งที่เรียกว่า ห้องเย็น (Cold Room)
บางท่านอาจจะมีความสับสนระหว่าง ห้อง เย็น (Cold Room) กับ ห้องคลีนรูม (Clean Room) เนื่องด้วยมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษที่คล้ายกัน อีกทั้งยังใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนในการก่อสร้างได้เช่นเดียวกันอีก แต่ห้องทั้งสองประเภทนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง
สรุปได้ง่าย ๆ คือ ทั้ง 2 ห้องนั้น มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน อย่างชัดเจน โดย ห้อง เย็น (Cold Room) จะนิยมใช้เก็บรักษา อาหารที่เน่าเสียง่าย ซึ่งจะแตกต่างจาก ห้องคลีนรูม (Clean Room) ที่มีวัตถุประสงค์ ในการควบคุมปัจจัยเสริมต่าง ๆ ได้แก่ ลม, อุณหภูมิ, แรงดันอากาศ, ความชื้นสัมพัทธ์ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง เชื้อโรค และสิ่งปนเปื้อน
หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นกันไปแล้ว FATEK Group ของเราจะขอพาทุกท่านไปพบกับข้อมูลที่ลึกมากยิ่งขึ้น กับ 3 ข้อสงสัยที่มีคนอยากรู้มากที่สุดเกี่ยวกับห้องเย็น
1. ห้องเย็น (Cold Room) คืออะไร?
ห้องเย็น (Cold Room) คือ ห้องที่ใช้ในการรักษาอาหารที่อุณหภูมิต่ำ แต่สูงกว่าจุดเยือกแข็งของอาหาร อุณหภูมิที่ใช้เพื่อสำหรับแช่เย็นในทางอตุสาหกรรมจะอยู่ระหว่าง -20 ถึง -50 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สมควร สำหรับเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภทจะต่างกัน การเก็บรักษาในห้องเย็นใช้สำหรับเก็บรักษาอาหารที่เสียง่าย (Perishable Food) ได้แก่
- เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อวัว, เนื้อแกะ, เนื้อหมู, เครื่องในสัตว์ รวมไปถึงไข่สด เป็นต้น
- อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก, แฮม, เบคอน และแหนม เป็นต้น
- อาหารทะเล ทั้งแบบสด และแปรรูป
- ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น น้ำนม, โยเกิร์ต และเนย เป็นต้น
- ผักสด และผลไม้สด
- อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน
ทั้งหมดนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังคงความสดใหม่ รวมไปถึงรักษาคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้ไปถึงผู้บริโภคด้วยคุณภาพสูงที่สุด โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการสร้างห้องเย็น
2. ปัจจัยในการสร้างห้องเย็นมีอะไรบ้าง?
การสร้างห้องแข่แข็งสักห้อง ต้องคำนึงถึงปัจจัยในการสร้างหลากหลายปัจจัย เพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์ ดังนี้
- ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจัดเก็บ เช่น ผลิตภัณฑ์แบบสด, แบบแปรรูป หรือแช่แข็ง
- ลักษณะและจุดประสงค์การใช้งานห้องเย็น เพื่อจัดเก็บเพียงอย่างเดียว, ใช้ลดอุณหภูมิเพื่อรอนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่กระบวนการต่อไป หรือหลากหลายวัตถุประสงค์ เป็นต้น
- ภาชนะที่บรรจุผลิตภัณฑ์ เช่น เปลือยเปล่าไม่มีการห่อหุ้ม ไม่มีการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ หรือมีการห่อหุ้มบรรจุไว้ภายในบรรจุภัณฑ์
- ปริมาณในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีผลโดยตรงกับขนาดของห้อง และการเลือกระบบทำความเย็น
- ระยะเวลาในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ และผลิตภัณฑ์
- การหมุนเวียนอากาศภายใน เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ และผลิตภัณฑ์
- อุณหภูมิและความชื้นในห้อง เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเหมาะกับผลิตภัณฑ์
- อุณหภูมิของผลิตภัณฑ์เมื่อเข้ามา และเมื่อนำออก เพื่อให้ทราบว่าควรจะใช้ระบบทำความเย็นรูปแบบใด ต้องการลด, เพิ่ม หรือคงอุณหภูมิ
- การขนถ่ายผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงความถี่ในการเปิด และปิดประตูห้องเย็น
- จำนวนพนักงาน และตารางเวลาของพนักงาน ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับห้องเย็น
- โครงสร้าง และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แสงสว่าง ระบบทำความเย็น รูปแบบประตู เป็นต้น
จากข้างต้นได้ทราบกันแล้วว่าต้องมีหลายปัจจัย ดังนั้นประเภทของห้องเย็นจึงต้องมีหลากหลายอย่างแน่นอน เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ต่าง ๆ FATEK Group จะพาทุกท่านไปรู้จักกับประเภทต่าง ๆ ของห้องเย็น
3. ห้องเย็นมีกี่ประเภท?
จะแบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก ตามจุดประสงค์ และความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ ได้แก่
- ห้องเย็นพักสินค้า (Anti-Room)
ห้องชนิดนี้มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะส่งเข้า ห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room) หรือห้องเก็บที่มีอุณหภูมิต่ำ และยังสามารถใช้สำหรับพัก และกระจายผลิตภัณฑ์ โดยอุณหภูมิของห้องเย็นอยู่ที่ประมาณ -5 ถึง 10 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
2. ห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room)
ห้องประเภทนี้มีไว้สำหรับแช่แข็งผลิตภัณฑ์ให้แข็งโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย โดยการแช่แข็งผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเภทจะมีแตกต่างกัน เช่น การแช่แข็งผัก และผลไม้ จะต้องแช่แข็งด้วยความรวดเร็วไม่ทำให้ผนังเซลล์แตก ซึ่งการที่เซลล์แตก นั้นเกิดจากน้ำในเซลล์เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งนั่นเอง หรือการแช่แข็งอาหารทะเลส่งออกจะต้องพยายามไม่ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งภายในเนื้อเซลล์ เพราะจะทำให้เซลล์ช้ำได้ ปกติแล้วห้องแช่แข็งลมเย็นจัด จะสามารถจุผลิตภัณฑ์ได้ถึง 2.5 ตัน และใช้เวลาในการแช่แข็งประมาณ 4-5 ชั่วโมง ไม่เกิน 6 ชั่วโมง อุณหภูมิของห้องอยู่ที่ประมาณ -35 องศาเซลเซียส หรือขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์
3. ห้องแช่เย็นเฉียบพลัน (Air Blast Chill Room)
ห้องประเภทนี้มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิ เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรีย และเพื่อให้เชื้อเอนไซม์ย่อยเนื้อในกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ อีกทั้งเพื่อรอผลิตภัณฑ์เข้าสู่ขบวนการถัดไป โดยส่วนใหญ่ห้องเย็นเฉียบพลันจะมีข้อกำหนดของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และอุณหภูมิของห้องอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส หรือขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์
4. ห้องแช่แข็ง (Freezer Room)
ห้องประเภทนี้เป็นห้องที่มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิ และเก็บผลิตภัณฑ์ในช่วงเวลานาน ๆ และมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น ปลาแช่แข็งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ -17.8 ถึง -23.3 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้ระยะเวลา 8-10 เดือน โดยอุณหภูมิของห้องอยู่ที่ประมาณ -5 ถึง -25 องศาเซลเซียส หรือขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์
5. ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room)
ห้องประเภทนี้มีไว้สำหรับเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะใช้เก็บผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งมาแล้ว เพื่อรอการจัดส่งหรือจัดจำหน่าย โดยผลิตภัณฑ์ที่นำมาเก็บจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า หรือเท่ากับตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งอุณหภูมิของห้องเย็นอยู่ที่ประมาณ -25 องศาเซลเซียส หรือขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ของห้องเก็บรักษาสินค้า
หวังว่า 3 ข้อข้างต้นจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่าน เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของ ห้องเย็น (Cold Room) ว่าคืออะไร? มีจุดประสงค์เพื่ออะไร? และต้องคำนึงถึงปัจจัยใดบ้างในการสร้าง? อีกทั้งมีห้องเย็นประเภทใดบ้าง? โดยเมื่อทราบจุดประสงค์ และปัจจัยในการสร้างแล้ว ก็จะทำให้ง่ายต่อการเลือกประเภท เพื่อให้ตรงต่อความต้องการนั่นเอง
หากท่านสนใจบริการรับสร้าง หรือติดตั้ง ห้องเย็น (Cold Room) สามารถติดต่อ FATEK Group ของเราได้ตลอดเวลา เราพร้อมบริการด้วยความรวดเร็ว และมีคุณภาพ โดย ห้องเย็น (Cold Room) ของเรา สร้างด้วย แผ่นฉนวนกันความร้อน (Sandwich Panel) และวัสดุอื่น ๆ ที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงทีมงานที่มีฝีมือ และประสบการณ์กว่า 20 ปี ในราคาที่ยุติธรรม ตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างแน่นอน
FATEK Group บริษัทรับสร้างติดตั้งห้องเย็น โดยใช้ผนังฉนวนกันความเย็นคุณภาพ ราคาถูก พร้อมทีมช่างมืออาชีพ และราคาเป็นธรรม