LCPHack
ล้างไตที่บ้าน ให้ปลอดภัยในห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)

หนึ่งโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากมายในระยะเวลาที่ผ่านมา นั่นก็คือ โรคไตวาย โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรคไตวายชนิดเฉียบพลัน และ โรคไตวายชนิดเรื้อรัง โดยแบบชนิดเฉียบพลันนั้นจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว สามารถฟื้นกลับมาทำหน้าที่ของไตได้ปกติอีก สามารถหายเป็นปกติได้ ส่วนชนิดเรื้อรังนั้น เป็นการที่ไตของเราสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ไตจะไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติอีกต่อไป ซึ่งการรักษาโรคไตวายแบบเรื้อรังนั้น สามารถรักษาได้โดยการล้างไต

โรคไตวาย คืออะไร?

โดยปกติแล้วนั้น ไต จะทำหน้าที่ในการกรองของเสีย และขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดน้ำ, เกลือแร่ และสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการ ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ไตยังมีหน้าที่ในการปรับสมดุลของน้ำ และสารเคมีที่ไว้สร้างฮอร์โมน ที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต

โรคไตวายคือ โรคที่เกิดจากการที่ไตของมนุษย์เรานั้น ได้มีการสูญเสียหน้าที่ ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ ร่างกายของเรานั้น ไม่สามารถขับน้ำ รวมไปถึงของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะเสียสมดุลของสารน้ำ และเกลือแร่ อีกทั้งยังทำให้เกิดการคั่งของสารยูเรีย จนเกิดภาวะเลือดเป็นพิษ โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทอย่างที่ได้ระบุไว้ข้างต้น ได้แก่ โรคไตวายชนิดเฉียบพลัน และ โรคไตวายชนิดเรื้อรัง

การรักษาโรคไตนั้นปัจจุบันมีด้วยกัน 3 วิธี คือ

  1. การควบคุมอาหาร และการรักษาด้วยยา
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนไต
  3. การล้างไต ซึ่งแบ่งเป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง

โดยปัจจุบันการล้างไตที่สะดวกที่สุดคือการล้างไตทางช่องท้อง เพราะสามารถทำเองที่บ้านได้ โดยไม่ต้องออกไปเสี่ยงกับโรคอื่น ๆ ที่โรงพยาบาล และประหยัดเวลาในการดำเนินชีวิต

ล้างไตที่บ้าน
ล้างไตที่บ้าน
Source: A Dialysis Treatment for the Busy Patient – WSJ

การล้างไตทางช่องท้องคืออะไร? สามารถล้างที่บ้านได้หรือไม่?

การล้างไตทางช่องท้องคือ การที่เราฝังสายยางไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และมีการใส่น้ำยาเพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก โดยต้องมีการเปลี่ยนถ่ายยน้ำยาวันละ 4-5 ครั้งทุก ๆ วัน วิธีนี้ผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านได้ แต่ก็มีโอกาสติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อมีการทำไปนาน ๆ นอกจากมีนี้ยังมีการสูญเสียโปรตีนไปกับน้ำยาที่ต้องถ่ายออกเป็นจำนวนมาก จึงควรรับประทานอาหารให้เพียงพอในแต่ละวันไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดภาวะขาดอาหาร

การล้างไตทางช่องท้องมีวิธีการอย่างไร?

การล้างไตทางช่องท้องนั้น เป็นวิธีการที่ใช้น้ำยาล้างไตใส่เข้าไปในช่องท้อง โดยให้ผนังเยื่อบุช่องท้องรับหน้าที่เป็นตัวกรองฟอกเลือด จะแยกระหว่างส่วนของเลือดกับน้ำยาล้างไตเนื่องจากผนังบุช่องท้องมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ บุอยู่ภายในช่องท้อง โดยที่ช่องท้องนั้นมีลักษณะคล้ายถุงบรรจุอวัยวะต่าง ๆ ทั้งกระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับ

ส่วนน้ำยาล้างไตที่ใส่เข้าไปนั้นก็จะอยู่ในถุงส่วนของเลือดได้แก่ เส้นเลือดต่าง ๆ ที่อยู่ตามผิวของเยื่อบุช่องท้องและลำไส้ โดยมีผนังบุช่องท้องเป็นตัวกั้น และทำหน้าที่กรอง เมื่อใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องแล้วทิ้งไว้สักระยะ ของเสียในเลือดที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำยาล้างไตจะมีการแพร่กระจายผ่านเยื่อบุช่องท้องเข้ามาอยู่กับน้ำยาล้างไต ทำให้ของเสียในเลือดลดลง เมื่อถ่ายน้ำยาล้างไตออกทิ้ง ของเสียในเลือดก็จะถูกกำจัดออกไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่องกัน ของเสียในเลือดก็จะมีปริมาณลดลง

การล้างไตทางช่องท้องจะต้องให้แพทย์ทำการผ่าตัด หรือเจาะช่องท้องแล้วใส่สายยางชนิดพิเศษสำหรับใส่น้ำยาล้างไต โดยปลายสายข้างหนึ่งอยู่ในช่องท้องในตำแหน่งที่ต่ำที่สุดของช่องท้อง ส่วนปลายอีกข้างจะแทงผ่านผนังหน้าท้องออกมานอกผิวหนังของผู้ป่วยในตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย ซึ่งปลายข้างนี้จะเอาไว้ใช้ต่อกับถุงน้ำยาล้างไต และถ่ายเทเอาน้ำยาที่ใช้แล้วออกด้วยวิธีกาลักน้ำ คือ ถ้าต้องการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง ผู้ป่วยต้องยกถุงให้อยู่สูงกว่าช่องท้อง และเมื่อต้องการถ่ายน้ำยาออก ให้วางถุงอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าช่องท้อง

ฝังสายยางล้างไต ในช่องท้อง
การฝังสายยางไว้ในช่องท้อง
Source: CAPD | National Kidney Center Nepal (nkc.org.np)

ต้องล้างไตวันละกี่ครั้ง บ่อยแค่ไหน นานเท่าไหร่?

การล้างไตทางช่องท้องนั้นผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งต้องล้างอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยเปลี่ยนน้ำยาล้างไตในช่องท้องครั้งละ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร วันละ 4-6 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งให้แช่น้ำยา ค้างไว้ในช่องท้อง 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นครั้งสุดท้ายของวัน ที่น้ำยาจะถูกแช่ไว้ในช่องท้องนานกว่าปกติ เพราะต้องแช่ไว้ตลอดทั้งคืน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง

นอกจากนี้ก็ยังมีการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่อง ซึ่งจะเป็น เครื่องมือช่วยล้างไตในเวลากลางคืน หรือในขณะที่ผู้ป่วยหลับ เครื่องจะควบคุมการเปลี่ยนน้ำยาแบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และสามารถนอนหลับในเวลากลางคืนได้อย่างสบายขึ้น

ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้น้ำยาค้างอยู่ในช่องท้องนานที่สุด และลดเวลาในการปล่อยน้ำยาเข้าและออก จากเดิมที่ใช้วิธีกาลักน้ำ ซึ่งใช้เวลาในการปล่อยถ่ายน้ำยา และใส่น้ำยาประมาณ 1 ชั่วโมง ได้เปลี่ยนมาเป็นการปล่อยน้ำยาด้วยเครื่อง ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วย เพราะไม่ต้องแขวนถุงน้ำยา เนื่องจากเครื่องไม่ได้ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกในการปล่อยน้ำยาเข้า – ออก

เครื่องล้างไต
เครื่องล้างไตอัตโนมัติ
Source: Why A Cheaper, More Convenient Dialysis Option Isn’t More Common (wfyi.org)

ทำไมถึงควรล้างไตที่บ้านในห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)?

วิธีการทั้งหมดที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ควรมีกระบวนการที่สะอาดที่สุด เพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อจากภายนอกให้มากที่สุด สถานที่ที่ทำนั้นจึงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเป็นไปได้ควรทำใน ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room) ที่เอื้อต่อการทำความสะอาด และการควบคุมเชื้อต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาสู่ภายในห้องได้ง่าย เนื่องจากห้องคลีนรูมนั้นทำความสะอาดได้ง่าย และมีการควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ให้มีไม่เกินระดับที่กำหนดไว้

ห้องปลอดเชื้อ
ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)
โดยสามารถเลือกขนาด และรายละเอียดให้ตรงกับความต้องการได้

โดยห้องคลีนรูมของ FATEK Group ของเราสร้างจาก แผ่นฉนวนกันความร้อน (Sandwich Panel) คุณภาพสูง และราคาเป็นมิตร โดยมีไส้ฉนวนให้เลือกถึงสองแบบได้แก่

  1. PIR Foam หรือโฟมเหลืองกันไฟ โดยโฟมชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ดีคือเป็น ฉนวนกันไฟไหม้ และ กำลังเป็นที่นิยมทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต
  2. PS Foam หรือโฟมขาว น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และราคาประหยัด

ถ้าหากท่านสนใจให้ทาง FATEK Group ของเราเข้าไปติดตั้ง ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room) เพื่อให้การรักษาของท่านมีความปลอดภัย และสะอาดที่สุด ก็สามารถติดต่อทาง FATEK Group ได้ทุกช่องทางตลอดเวลา

อ้างอิงข้อมูลจาก: https://www.bangkokhealth.com/17788

CleanRoom 005

FATEK Group บริษัทรับสร้างติดตั้งห้องคลีนรูม ห้องสะอาด โดยใช้ผนัง Sandwich Panel คุณภาพ ราคาถูก พร้อมทีมช่างมืออาชีพ และราคาเป็นธรรม

บริการติดตั้งห้องคลีนรูม ห้องสะอาด ปลอดเชื้อ

Translate »