LCPHack

แผ่นฉนวน Polystyrene Foam (PS) หรือ EPS Foam เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในเรื่องคุณสมบัติ คือ เบา แต่สามารถรับน้ำหนักได้ดี นอกจากนั้นแล้วโฟม PS ยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนเก็บความเย็นและป้องกันการผ่านของเสียง P.S. FOAM จึงเหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องการประหยัดพลังงาน งานรับน้ำหนักหรืองานกันกระแทก รวมทั้งงานที่ต้องการความเบา ซึ่งจะเห็นได้ว่าโฟมนำไปใช้งานประเภทต่าง ๆ มากมาย

คุณสมบัติของ EPS Foam หรือ PS Foam
eps foam

คุณสมบัติของ EPS Foam หรือ PS Foam

1. Sandwich Panel EPS, PS มีความเป็นฉนวนสูง

คุณสมบัติ EPS Foam, P.S. Foam มีความเป็นฉนวนสูง ทำให้สามารถป้องกันความร้อนเข้าในอาคารได้ดี มากกว่าวัสดุใด ๆ ที่ความหนาเท่ากัน บ้านที่ใช้โฟมเป็นผนังและหลังคา สามารถลดค่าไฟฟ้าโดยรวมได้ประมาณ 30 เปอร์เซนต์

2. น้ำหนักเบา

คุณสมบัติ EPS Foam, P.S. Foam มีน้ำหนักเบา เป็นผลให้ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากมาย ประหยัดทั้งค่าแรงและเวลาการทำงาน รวมทั้งประหยัดค่าโครงสร้าง โดยความแข็งแรงไม่ลดน้อยลง

3. มีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำต่ำ

มีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำต่ำ ช่วยลดปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึมจากภายนอก ป้องกันความชื้นอากาศภายนอกเข้าสู่ภายในได้ดี ลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้มาก เพราะกว่า 70 เปอร์เซนต์ของการทำงานของเครื่องปรับอากาศเป็นการรีดความชื้นออกจากห้อง แต่ทั้งนี้ อาคารต้องมีระบบช่องเปิด ทั้งประตูหน้าต่างที่มีประสิทธิภาพ และมีการป้องกันรอยต่อระหว่างแผ่นโฟมที่ดีด้

4. ไม่ลามไฟ

ในงานสถาปัตยกรรมต้องใช้โฟม PS หรือผนังโฟม EPS ชนิด F-Grade ไม่ลามไฟเท่านั้น

5. ติดตั้ง / ปรับเปลี่ยน / ตัดต่อได้ง่าย

เนื่องจากน้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งแล้ว การเดินระบบไฟฟ้าและประปาในอาคารยังสะดวกกว่าอาคารแบบเดิม ๆ เพราะสามารถขุด ตัด เจาะ ด้วยเครื่องมือไม่กี่ชิ้น มีข้อแม้ว่า การติดตั้งระบบต้องทำในขณะที่ยังไม่มีผิว (Finishing)

6. แข็งแรง

แข็งแรง เพราะตัว PS หรือ EPS สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 2,000 กก./ตร.เมตร โดยที่ยังคงคืนรูปได้

7. ความสวยงาม

บ้านที่ทำด้วยโฟม เมื่อทำเสร็จแล้ว ความงามจะไม่ต่างจากบ้านก่ออิฐฉาบปูนเลย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัสดุกรุผิวว่าจะเลือกใช้แบบใด

8. เป็นฉนวนกันเสียง

เนื่องจากโฟม PS หรือ EPS มีเนื้อโฟมลักษณะเซลล์ปิด (closed-cell) ทำให้มีคุณสมบัติการกันเสียงได้เป็นอย่างดี

9. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง

สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง ตั้งแต่ถมดินปรับระดับ ทำส่วนประกอบอาคาร เช่นพื้นผนัง หลังคา บันได รั้วบ้าน บ่อเลี้ยงปลา สระว่ายน้ำ โดยไม่จำกัดรูปทรง เศษวัสดุยังสามารถนำมา re-use เป็นวัสดุปลูกเพิ่มโพรงอากาศให้แก่ดินได้เป็นอย่างดี

ที่มา: J. Panel เจ. พาเนล

Translate »