LCPHack
ฉนวนกันความร้อน สำหรับโรงงาน

การเลือกฉนวนกันความร้อนสำหรับโรงงาน เป็นขั้นตอนสำคัญในการพิจารณาสำหรับการเลือกซื้อ ซึ่งสามารถทำให้เลือกฉนวนกันความร้อนได้ตรงกับวัตถุประสงค์ และตรงตามคุณสมบัติของแผ่นฉนวน โดยวิธีการเลือก มีจุดสังเกต ดังนี้

ฉนวนกันความร้อนสำหรับโรงงาน
ที่มาของภาพ: https://fatek.co.th

ค่า R K U (3 ค่าที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อแผ่นฉนวนกันความร้อนสำหรับโรงงาน)

ก่อนตัดสินใจซื้อแผ่นฉนวนกันความร้อนสำหรับโรงงาน วิธีพิจารณาอันดับแรกคือค่ากันความร้อนของวัสดุแต่ละชนิดซึ่งมักจะระบุไว้ในฉลากของบรรจุภัณฑ์ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ “ ค่า R ตัวเลขสูง ๆ ค่า K ต้องต่ำ ๆ ” 

1. ฉนวนที่ดี ต้องมีค่าการต้านทานความร้อน (R-Value) สูง

  • ค่าการต้านทานความร้อน คือ ความสามารถของวัสดุ ที่จะยับยั้งการไหล หรือถ่ายเทของความร้อน
  • R คือ Resistivity หรือค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน
  • มีหน่วยเป็น ตารางเมตร-องศาเคลวินต่อวัตต์ (Thermal resistance – R value, m2K/W)
  • ค่าการต้านทานความร้อน (R-Value) ยิ่งสูง จะบ่งบอกถึงความเป็นฉนวนที่ดี

2. ฉนวนที่ดี ต้องมีค่าการนำความร้อน (K-Value) ต่ำ

  • ค่าการนำความร้อน มีความหมาย คือ ฉนวนประเภทนั้น ๆ ยอมให้ความร้อนผ่านตัววัสดุได้ง่ายเพียงใด
  • K คือ K-value สภาพการนำความร้อน (ค่า K) หรือ conductivity
  • มีหน่วยเป็น วัตต์ต่อเมตร-องศาเคลวิน (Thermal conductivity – K value, W/m.K)
  • ถ้าหากวัสดุ มีคุณสมบัติความเป็นฉนวนดี จะมีค่าการนำความร้อน (k-Value) ต่ำ ทำให้สามารถใช้ความหนาของฉนวนบางลงได้ ค่าการนำความร้อนเป็น คุณสมบัติเฉพาะตัววัสดุ ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับความหนา

3. ฉนวนที่ดี ต้องมีค่าการถ่ายเทความร้อน (U-Value) ต่ำ

  • ค่าการถ่ายเทความร้อน หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ไหลผ่านเข้ามาในส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุ มีความคงที่ โดยที่อุณหภูมิอากาศของทั้งสองด้าน แตกต่างกัน (ส่วนกลับของค่าความต้านทานความร้อน) ขึ้นกับความหนาและค่า k ของวัสดุนั้น ๆ ด้วย
  • มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ต่อเมตร W/m2K
  • ค่าการถ่ายเทความร้อน (U-Value) ยิ่งต่ำ จะบ่งบอกถึงความเป็นฉนวนที่ดี

3 ฉนวนกันความร้อน ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ห้องเย็น ไลน์ผลิต

ฉนวนกันความร้อน ที่นิยมใช้ในโรงงาน ส่วนมากมี 3 ชนิด ดังนี้

1. ฉนวนกันความร้อน กันไฟ พอลิไอโซไซยานูเรต (Polyisocyanurate Foam, PIR Foam)

PIR ย่อมาจาก “พอลิไอโซไซยานูเรต” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พีไออาร์ หรือ พอลิไอโซ เป็นการพัฒนาฉนวนกันความร้อนโดยนำสารไอโซไซยานูเรตผสมกับพอลิยูริเทนโฟม โดยมีคุณสมบัติ กันความร้อนดีเยี่ยม ค่า k-Value ต่ำ กันไฟได้จริง ควันน้อย ตอบโจทย์อุตสาหกรรมแบบครบครัน

2. ฉนวนกันไฟลาม และทนไฟได้ดีที่สุด ฉนวนใยหินร็อควูล (Rockwool)

ฉนวนใยหินกันความร้อน มีคุณสมบัติ ดูดซับเสียง และกันไฟ ไม่ติดไฟ (Non Combustible) ดูดซับน้ำต่ำ รักษาอุณหภูมิได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงกว่า ฉนวนกันความร้อน PIR จุดเด่นคือ ทนไฟได้นาน (ไม่เปลี่ยนสภาพ) ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัย ใช้สำหรับอาคาร สำนักงานหรืออุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย เช่น ห้องไลน์ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ห้อง Data Server และโรงงานผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น

3. ฉนวนกันความร้อน พอลิสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam, PS Foam หรือ Expanded Polystyrene, EPS Foam)

Polystyrene Foam, PS Foam หรือ Expanded Polystyrene เป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติพิเศษมีน้ำหนักเบา สะดวกในการขนย้าย ง่ายต่อการติดตั้ง สามารถตัดตามแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ ประหยัดพลังงาน ป้องกันความชื้นจากพื้นผิวดิน อายุการใช้งานยาวนาน สามารถติดไฟได้ แต่ไม่ลามไฟ สามารถกันความร้อนและเก็บความเย็น ป้องกันการผ่านของเสียงได้อีกด้วย รับแรงกดทับได้ดี เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีโครงสร้างวัสดุเป็นเซลล์ปิด กันความร้อนได้ในตัวเอง

เพียงแค่ทุกท่านทราบคุณสมบัติ และ 3 ค่าที่เราได้บอกไปข้างต้น เพียงเท่านี้ก็สามารถเลือกฉนวนกันความร้อน ที่นิยมใช้ในโรงงาน ได้เหมาะสมกับธุรกิจ เหมาะสมกับลักษณะอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับความปลอดภัย ความคุ้มค่า และความยั่งยืนในระยะยาว

สร้างโรงงาน ห้องเย็น ห้องไลน์ผลิต คลังสินค้า ห้องปลอดเชื้อ ฯลฯ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ FATEK Group ดูแลโครงการด้วยวิศวกรมากประสบการณ์ มาตรฐาน ISO 9001:2015 ปรึกษา-สอบถาม เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน หรือสอบถามเกี่ยวกับแผ่นฉนวนกันความร้อนราคาต่อตารางเมตร (ตรม.)

https://fi.co.th
Translate »