LCPHack
refrigeration system

อุปกรณ์ในการทําความเย็นมีอะไรบ้าง? 

อุปกรณ์หลักในการทํางานของระบบทำความเย็น มีดังนี้ 

1. เครื่องอัดสารทําความเย็น (Compressor)

ทําหน้าที่สร้างความดันในระบบโดยอัดสารทําความเย็นในสถานะไอ ทําเกิดการไหลเวียนไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เครื่องอัดสารทําความเย็นที่ใช้กันมี 3 แบบ คือ

  1. แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
  2. แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)
  3. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Compressor) ปัจจุบัน เครื่องอัดแบบลูกสูบนิยมใช้กันเพราะสามารถใช้ทําความเย็นขนาดเล็กที่ใช้ตามบ้านหรือร้านค้าทั่วไปจนถึงขนาดใหญ่สําหรับ งานอุตสาหกรรม และสามารถใช้ได้กับสารทําความเย็นหลายชนิด เช่น R-12, R-22, R-500, R-717 (แอมโมเนีย) เป็นต้น รวมทั้งมีการพัฒนาให้ใช้อุณหภูมิในช่วงการทํางานที่กว้างมากขึ้น มีทั้งแบบอัดขั้นตอนเดียว (Single Stage) สําหรับระบบทํา ความเย็นทั่วไปและแบบอัดหลายขั้นตอน (Multi Stage) สําหรับระบบทําความเย็นที่ต้องการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ

2. เครื่องควบแน่น (Condenser)

ทําหน้าที่ระบายความร้อนสารทําความเย็นหลังผ่านการอัดจากเครื่องอัด ซึ่งสารทําความเย็นดังกล่าวจะมีสถานะเป็นไอความดันสูง อุณหภูมิสูง เมื่อผ่านเครื่องควบแน่นจะมีอุณหภูมิลดต่ําลงและกลั่นตัวเป็น ของเหลวที่อยู่ภายใต้ความดันสูง ซึ่งแบ่งประเภทเครื่องควบแน่นได้ 3 แบบ คือ

  1. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled)
  2. แบบระบายความร้อนด้วยน้ํา (Water Cooled)
  3. แบบระเหยตัวของน้ํา (Evaporative Condenser) ปัจจัยสําคัญ ในการเลือกขื้นกับวัสดุที่ใช้และขนาด ยิ่งมีขนาดใหญ่จะสามารถควบแน่นได้ดีซึ่งหมายถึงความดันควบแน่นในการทํางานก็จะต่ําลงด้วยส่งผลให้ระบบ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามราคาจะสูงขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของเครื่องควบแน่นด้วย

3. ถังเก็บสารทําความเย็น (Receiver Tank)

ทําหน้าที่กักเก็บ พัก แยกสารทําความเย็นในสถานะไอกับของเหลวของสารทําความเย็นมีทั้งถังพักด้านความดันสูง และถังพักด้านความดันต่ํา จะจําเป็นอย่างมากในการใช้ร่วมกับระบบลด อุณหภูมิแบบ Flooded Coil และระบบเครื่องทําความเย็นแบบรวมศูนย์โดยทํางานร่วมกับ เครื่องระเหยหลายชุด หรือมีการ ใช้งานที่อุณหภูมแตกต่างกัน ซึ่งในบางช่วงเวลาจะมีความต้องการใช้สารทําความเย็นปริมาณมากจึงจําเป็นต้องมีถังเก็บสารทําความเย็น ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้เพียงพอกับเครื่องระเหยหลายชุด                  

4. ลิ้นลดความดัน (Expansion Valve) หรือ วาล์วควบคุมการไหลของสารทําความเย็น

ทําหน้าที่ลดความดันสารทําความเย็นจากสถานะของเหลวจาก ถังเก็บสารทําความเย็นให้ลดต่ําลงเพื่อส่งเข้าสู่เครื่องระเหยต่อไป โดยลิ้นลดความดันจะ นิยมใช้กับระบบทําความเย็นที่มีขนาดเล็กควบคุมอุณหภูมิการทํางานโดยอาศัย การเดิน-หยุดของเครื่องอัด หากเป็นระบบ ขนาดใหญ่จะต้องใช้การควบคุมอัตราการไหลของสารทําความเย็นที่เข้าสู่เครื่องระเหยให้เพียงพอกับความต้องการในการ ทําความเย็นหรือควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามที่ต้องการ

5. เครื่องระเหย (Evaporator)

ทําหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างวัตถุหรือผลิตภัณฑ์กับสารทําความเย็น โดย เมื่อสารทําความเย็นเหลวถูกลดความดันลง จะดูดความร้อนจากบริเวณโดยรอบเครื่องระเหยเพื่อเปลี่ยนสถานะจากของเหลว เป็นไอ จึงส่งผลให้อุณหภูมิในบริเวณที่ต้องการลดต่ําลง และโดยปกติการดึงความร้อน ระหว่างผลิตภัณฑ์กับเครื่องระเหยมัก ไม่สามารถทําได้โดยตรงจึงมักจะมีสารทุติยภูมิเป็นตัวกลางถ่ายเทความร้อนที่เหมาะสม เช่น อากาศที่อาศัยการเคลื่อนที่ด้วยพัดลม ในห้องเย็น หรือชั้นโชว์อาหารในซุปเปอร์มาเก็ต ในการนําความเย็นไปใช้นั้นมีหลายลักษณะ ซึ่งจะได้กล่าวไว้ในหัวข้อ ต่อไป

บริการติดตั้งห้องเย็น ห้องคลีนรูม (Clean Room) ห้องไลน์ผลิต ห้องปลอดเชื้อ ด้วยแผ่นฉนวนกันความร้อน Sandwich Panel โดยทีมช่างมืออาชีพ

ดูรายละเอียด
Translate »