LCPHack

ประเภทของฉนวนกันความร้อน และฉนวนกันความเย็น

ประเภทของฉนวน

ฉนวนป้องกันความร้อนมีกี่ชนิดและติดตั้งที่ส่วนใดของห้อง?
ปัจจุบันมีฉนวนป้องกันความร้อนชนิดต่าง ๆ อยู่หลายชนิดซึ่งเหมาะกับงานที่อุณหภูมิต่าง ๆ กัน

ฉนวนใยแก้ว (Microfiber)

ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็ก ๆ มีประสิทธิภาพทนความร้อนสูง จึงสามารถช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้มาก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติกันเสียงรบกวนได้ จึงช่วยให้ไม่รบกวนในยามฝนตก รวมถึงป้องกันความชื้นสูง มีความยืดหยุ่นได้ดีเมื่อถูกกดทับจะสามารถคืนตัวได้เร็ว มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ และป้องกันแมลงหรือเชื้อราได้ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ ม้วนละ 1,500 บาทขึ้นไป ตามขนาดและคุณสมบัติ

microfiber insulation

แผ่นสะท้อนความร้อน (Heat Reflective Sheet)

เป็นฉนวนที่มีอะลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์สำหรับสะท้อนความร้อนติดอยู่ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งสามารถสะท้อนความร้อนได้ถึง 97% สามารถป้องกันความร้อนทะลุผ่านเข้ามาในบ้านได้ มีความสวยงาม แข็งแรงทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนาน รวมถึงไม่มีสารพิษด้วย ราคาเริ่มต้น ม้วนละ 1,000 บาทขึ้นไป ตามขนาดและคุณสมบัติ

แผ่นสะท้อนความร้อน (Heat Reflective Sheet)

อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

เป็นแผ่นเคลือบอะลูมิเนียมที่ถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีความเหนียวคงทนไม่ขาดง่าย ราคาประหยัด ใช้คู่กับอะลูมิเนียมฟอยล์เทปในการติดตั้ง ราคาเริ่มต้น ม้วนละ 1,000 บาท ตามขนาดและคุณสมบัติ

โฟมโพลียูริเทน PU (Polyurethane)

ทนความร้อนได้ 100 องศาเซลเซียสสูงสุด เป็นของเหลวบรรจุในถัง ในต่างประเทศจะใช้ฉีดเข้าระหว่างฝาผนังบ้าน ซึ่งก่ออิฐสองชั้น ในประเทศไทยไม่นิยมทำกันเพราะราคาแพง เรามักจะพบฉนวนชนิดโฟมฉีดในเครื่องใช้ภายในบ้านคือ ใช้ฉีดเข้าไปโดยรอบผนังตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็ง   นอกจากจะใช้เครื่องใช้ภายในบ้านแล้ว  PU หรือ Polyurethane  ยังสามารภผลิตเป็นแผ่นฉนวนสำเร็จรูป (Sandwich Panel) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการเก็บรักษาความเย็นได้ดี  จึงเป็นที่นิยมใช้ในการกั้นห้องเป็นห้องเย็น (Cold Room) ได้เป็นอย่างดี  

โฟมโพลีสไตลีน PS (Polystyrene)

โฟมโพลีสไตลีน PS (Polystyrene)

ทนอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียสสูงสุด หรือที่เห็นกันทั่วไปจะเป็นแผ่นสีขาว น้ำหนักเบา มีความหนาต่าง ๆ กัน ถึงแม้ว่าฉนวนชนิดนี้จะมีความต้านทานความร้อนดีกว่า (ค่า k ต่ำ) ฉนวนใยแก้วก็ตามแต่ไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นฉนวนในบ้านอยู่อาศัย เพราะเป็นฉนวนที่เสื่อมสภาพได้ง่าย ติดไฟ และหากติดไฟจะเกิดก๊าซพิษ  ฉนวนใยแก้ว  ทนความร้อนได้ไม่น้อยกว่า 250 องศาเซลเซียส ใช้บุใต้หลังคา ควรมีความหนาไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว และมีบุผิวด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ทั้ง 2 ด้าน  

โฟมโพลีสไตลีน PS (Polystyrene)
Translate »