LCPHack

PU Foam และ PIR Foam ต่างกันอย่างไร?

ก่อนที่เราจะไปทราบถึงคุณสมบัตว่า PU Foam และ PIR FOAM ต่างกันอย่างไร?
FATEK Group จะพาคุณมาทราบถึงต้นกำเนิดของโฟมทั้งสองชนิดกันก่อน

ต้นกำเนิดของ PU Foam และ PIR Foam เป็นมาอย่างไร?

ในปี ค.ศ.1937 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันนามว่า อ็อตโต้ ไบเยอร์ (Otto Bayer) และทีมงานจาก IG Farben ในเมือง เลเวอร์คูเซ่น (Leverkusen) ประเทศเยอรมัน ได้คิดค้นวัสดุพลาสติกที่นับได้ว่าเป็นวัสดุแห่งอนาคตในหลาย ๆ อุตสาหกรรมในขณะนั้น ได้แก่ โพลียูรีเทน (Polyurethane) ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1937 และได้มีการจดสิทธิบัตร “กระบวนการสำหรับการผลิตโพลียูรีเทนและโพลียูเรีย” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1937

ต่อมาในปี ค.ศ.1954 ได้มีการนำ โพลียูรีเทน (Polyurethane) กับน้ำมาใช้ จึงได้มีการผสมสาร และเกิดปฏิกิริยาของสารโดยความบังเอิญ จนกลายมาเป็น PU. Foam (Polyurethane Foam)

อีก 13 ปีให้หลัง ในปี ค.ศ.1967 นักวิทยาศาสตร์ ได้นำ PU. Foam (Polyurethane Foam) มาปรับปรุงเสถียรภาพด้านการนำความร้อน รวมไปถึงความต้านทานไฟ เพื่อสร้างฉนวนชนิดใหม่โดยการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่อุณหภูมิสูงขึ้น จนได้มาเป็น PIR. Foam (Polyisocyanurate Foam) นั่นเอง

1937 1952 Prof Otto Bayer Polyurethan
อ็อตโต้ ไบเยอร์ (Otto Bayer)
Source: https://commons.wikimedia.org/

ฉนวนกันความร้อน PU Foam (Polyurethane Foam) คืออะไร?

เป็นสารเคมีโพลียูริเทนชนิดหนึ่ง เป็นสารที่ป้องกันไฟกันกันไฟได้ดีกว่า และมีลักษณะของเนื้อโพลิเมอร์ไม่แน่น ผลิตจากโพลีอีสเทอร์ และไดไอโซไซยาเนต เช่น TDI โดยมีน้ำและแคตทาลิสต์ ได้แก่ แอมีน และออร์แกโนทินทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น และแทรกอยู่ในเนื้อของโพลิเมอร์ระหว่างโพลิเมอไรเซชัน บางครั้งใช้แก๊ส หรือวัสดุระเหยง่ายชนิดอื่นเป็นโบลอิงเอเจนต์ (Blowing agent-ปัจจุบันใช้สาร HCFC-141) แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. เฟล็กซิเบิลโฟม (Flexible PU. Foam) ผลิตจากโพลิออกซิโพรพิลีนไดออล ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เบาะรองนั่งทั่วไป, เก้าอี้นวม, ที่นอน, แผ่นรองใต้พรม และตัวดูดซับน้ำมันรั่วไหลในทะเล      

2. ริจิดโฟม (Rigid PU. Foam) ผลิตจากโพลิอีเทอร์ที่ได้จากซอร์บิทอลเมทิลกลูโคไซด์ หรือซูโครส ทำให้มีดีกรีของการครอสลิงสูง จึงมีความแข็งแรงสูงกว่าเฟล็กซิเบิลโฟม และมีความต้านทานต่อแรงกดดันสูง จึงใช้ทำโครงสร้างของส่วนที่ต้องการน้ำหนักเบา เช่น ลำตัวเครื่องบิน และเรือ เป็นต้น อีกทั้งยังมีสมบัติในการนำความร้อนต่ำมาก จึงมักนำมาเป็นฉนวนสำหรับอาคาร, ผนังตู้แช่ของรถขนส่งผลิตภัณฑ์แช่เย็น, ชิ้นส่วนของรถยนต์, ตู้เย็น และกระติกน้ำแข็ง นอกจากนี้ยังใช้ทำส่วนประกอบของเรือเพื่อการลอยตัวดีขึ้น

เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและลอยตัวดี ในวงการฉนวนกันความจึงมีการใช้ PU. Foam ประเภท Rigid Foam อย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้ประหยัดพลังงาน เช่น อาคารสถาปนิกที่ได้รับรางวัลที่ 1 ในหัวข้ออาคารประหยัดพลังงานดีเด่น ปี พ.ศ.2552 นั้นก็มีการใช้ฉนวน PU Foam รวมกับการใช้วิธีการอื่น ด้านหลังคาคอนกรีตใช้ฉนวน PU. Foam พ่นบนพื้นหลังคาสำหรับหลังคาเหล็ก ใช้ PU Foam ประเภทกันไฟลามเพื่อลดการเกิดเสียง ประตูหน้าต่างใช้ระบบประตูหน้าต่าง ALUMINIUM ชนิดป้องกันความร้อน และกรอบบานประตู ALUMINIUM ที่ฉีด PU. Foam ประกอบกับกระจกที่ใช้เป็นกระจกฉนวนป้องกันความร้อน และป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลต ภายนอกอาคารให้มีต้นไม้โดยรอบ เพื่อช่วยลดปริมาณความร้อนจากแสงแดดอีกทางหนึ่ง

rigid pu foam
Source ที่มาของข้อมูล: BANGKOK INTEGRATED TRADING

คุณสมบัติของแผ่นฉนวน PU Foam (Polyurethane Foam)

  • เป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดี แต่ไม่สามารถกันไฟได้ และเมื่อเกิดอัคคีภัยจะเกิดควันเป็นจำนวนมาก
  • ประกอบไปด้วยอนูโฟมละเอียด 95% มีความคงทนและไม่ยุบตัว
  • ก๊าซ HCN (ไฮโดรเจนไซยาไนด์) น้อย
  • เป็นโฟมที่ไม่ลามไฟ
  • อายุการใช้งานยาวนาน แข็งแรง ทนทาน
  • เป็นฉนวนกันความร้อน การนำความร้อน และการดูดซึมน้ำต่ำ กันน้้ารั่วซึม กันเสียง กันสะเทือน
  • มีส่วนผสมของตัวทำละลายเล็กน้อย เช่น กรดไนตริคเข้มข้น หรือ กรดซัลฟิวริค ซึ่งมีความสำคัญทำให้ กันน้ำ กันสารเคมีได้
  • ไม่มีสาร CFC และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อ่านคุณสมบัติโดยละเอียด

ฉนวนกันความร้อน PIR Foam (Polyisocyanurate Foam) คืออะไร?   

ฉนวนกันความร้อน PIR. Foam (Polyisocyanurate Foam) โพลีไอโซไซยานูเรตโฟม คือการพัฒนา PU. Foam (Polyurethane Foam) โดยมีคุณสมบัติเหมือนกันกับ PU. Foam แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่มีคุณสมบัติกันไฟ และลามไฟที่ดีกว่า รวมไปถึงค่าการเกิดควันต่ำกว่า ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ฉนวนกันความร้อน PIR. Foam มากขึ้น เนื่องจากให้ความปลอดภัยมากกว่า โดย PIR. Foam จะมีข้อสังเกตตรงที่มีฝุ่นผงมากกว่า PU. Foam

คุณสมบัติพิเศษของฉนวนกันความร้อน PIR Foam (Polyisocyanurate Foam)  

  • มีประสิทธิภาพดูดซับความชื้น หรือดูดซับน้ำต่ำ
  • ช่วยรักษาอุณหภูมิได้ดีที่สุด
  • สามารถใช้ได้ที่อุณหภูมิ -60 องศาเซลเซียส ถึง 100 องศาเซลเซียส
  • เมื่อเกิดการเผาไหม้เกิดควันที่ต่ำมาก ลดการเกิดมลพิษในอากาศ และการสำลักควันเนื่องจากขาดออกซิเจน
  • มีค่าความเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุด (นำความร้อนต่ำ)
  • มีประสิทธิภาพสูงกว่า ฉนวนกันความร้อน PIR ในท้องตลาดทั่วไป
  • มีน้ำหนักเบา เหมาะกับการเคลื่อนย้าย และใช้งานได้ในทุกอุตสาหกรรม
Translate »