ความปลอดภัยในการทำงานในห้องเย็น เป็นสิ่งสำคัญซึ่งภายในห้องเย็นนอกจากจะมีอุณหภูมิต่ำแล้ว ยังมีอัตรายของสารทำความเย็น เพื่อทำอุณหภูมิภายในห้องให้เย็นอีกด้วย สารทำความเย็นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
อันตรายของสารทำความเย็น
อันตรายของสารทำความเย็น มีดังนี้
1. ฮาโลคาร์บอน (Halocarbon)
ฮาโลคาร์บอน (Halocarbon) แบ่งออกเป็น 3 สาร ดังนี้
1.1 R-22 คือสารทำความเย็นที่มีคลอรีนเป็นส่วนประกอบ สลายตัวได้เร็วกว่าสาร CFC (Cloroflurocarbon) แต่สารชนิดนี้ยังมีส่วนในการทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศอยู่บ้าง นิยมใช้ในระบบปรับอากาศและอุตสาหกรรมการทำความเย็นทั่วไป
1.2 R-134a คือสารที่มีคลอรีนเป็นส่วนประกอบ แต่สารชนิดนี้ไม่ทำลายชั้นโอโซน แต่มีข้อจำกัดคือมีแรงดันต่ำทำให้ต้องใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่เพื่อจะให้ได้ความเย็นเท่าเดิม จึงไม่นิยมใช้ในการทำความเย็นที่มีอุณหภูมิติดลบมาก ๆ
1.3 R-404a สารชนิดนี้นิยมนำมาใช้ในระบบความเย็นเชิงพาณิชย์ เนื่องจากมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ R-22 แต่ให้ผลดีในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม
อันตราย
– มีสถานะคงที่ มีความเป็นพิษต่ำ ติดไฟได้ง่าย
– เข้าแทนที่ออกซิเจน ทำให้สำลักได้
การป้องกัน
– ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
– ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกินอัตรา LBL (Lower explosive limit) ที่กำหนด
2. แอมโมเนีย (Ammonia)
อันตราย
– เป็นพิษ ติดไฟ
การป้องกัน
– ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
– ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกิน 25% ของ LEL
3. อีเทน (Ethane) โพรเพน (Propane) บิวเทน (Buthane) ไอโซบิวเทน (Isobuthane) อีเทอลีน (Ethylene) โพรไพลีน (Propylene)
อันตราย
– อัตราการติดไฟสูง มีความเสี่ยงที่จะระเบิด
การป้องกัน
– ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
– ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้นเกิน 25% ของ LEL
- ในพื้นที่อันตรายให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบสำหรับทำงานในพื้นที่
- สำหรับสารทำความเย็น กลุ่ม 1 และ 2 เครื่องตรวจจับไอของสาร แยกวงจรไฟฟ้าที่ไม่มีการป้องกันทั้งหมด
- จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายจากสารทำความเย็น
ที่มา: Wall tech
ความปลอดภัยในการทำงานในห้องเย็น
- ห้องเย็นต้องสร้างขึ้นถูกต้องตามมาตรฐาน
- มาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลอื่น ๆ ถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น
– เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่เข้าไปภายในห้องเย็นได้
– มีป้าย ห้ามผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน ติดเตือนอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องเย็น
– มีทางออกฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ทาง, มีป้ายเตือนบอกทางในจำนวนที่เพียงพอ และไม่มีวัตถุใด ๆ กีดขวางทางออกฉุกเฉิน
– มีสัญญาณเตือนภัยสำหรับให้ผู้ที่ติดในห้องเย็นใช้แจ้งให้ผู้อยู่ข้างนอกทราบว่ามีคนติดอยู่ในห้องเย็น ระบบควรทำงานโดยมีแบตเตอรี่สำรอง มีป้ายบอกและติดตั้งสัญญาณเตือนในตำแหน่งที่เหมาะสม
– มีไฟฉุกเฉิน ที่ทำงานด้วยระบบแบตเตอรี่สำรอง
– มีการบำรุงรักษาและทดสอบอุปกรณ์ระบบความปลอดภัย
– ก่อนที่จะล๊อกประตูต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกครั้ง
- การรั่วไหลของสารทำความเย็น
มีแนวทางในการป้องกันอันตราย ดังนี้
– ซ่อมบำรุง และควบคุมการทำงานของห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี
– โรงงานที่มีห้องเย็นขนาดใหญ่จะต้องมีแผนงานในแต่ละช่วงเวลา ในการตรวจสอบห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในส่วนของอุปกรณ์และระบบท่อ ที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายหากชำรุด
– มีแผนฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และสื่อสารให้ทุกคนรับทราบ
- การทำงานในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
– จัดหาชุดป้องกันความเย็นที่เหมาะสม
– จัดให้มีห้องพักที่มีสภาพอากาศปกติ กับน้ำอุ่น สำหรับพักเบรก ส่วนระยะเวลาในการพักขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของห้องเย็นและลักษณะงาน
- ผู้ที่ทำงานในห้องเย็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรง จะต้องจัดให้มีการตรวจร่างกายผู้ที่จะต้องทำงานในห้องเย็นก่อนเสมอ
- สะเก็ดน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งที่เกิดขึ้นจะต้องจัดเก็บออกไปทุกวัน
- อุปกรณ์ที่ใช้ในงานห้องเย็นควรจัดให้มีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอันตราย การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่นำมาใช้ควรเลือกให้ถูกประเภทที่จะนำมาใช้ในห้องเย็น เช่น พาเลท หรือ ชั้นวางต่าง ๆ สามารถหาข้อมูลได้จากผู้จำหน่าย
ผู้ผลิต และจำหน่ายแผ่นฉนวน Sandwich Panel ลดความร้อน กันความร้อน ราคาถูก ประหยัด ฉนวนกันความร้อน ไม่ลามไฟ โดย FATEK Group | FATEK Advance Insulation
รายละเอียดผลิตภัณฑ์