80% ของห้องเย็นในไทยยังใช้ผนังห้องเย็นที่ดูดซับน้ำสูง
อดีตและปัจจุบัน พบว่า 80% ของห้องเย็นอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยยังคงนิยมใช้ผนังห้องแบบพอลิสไตรีน (Expanded Polystyrene : EPS) หรือโฟมขาว เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างถูกกว่าผนังฉนวนชนิดอื่น ๆ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าโฟมชนิดนี้มีค่าการดูดซับน้ำสูงมาก โฟม EPS จะดูดซับน้ำและหนักขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หากไม่มีการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม ผนังห้องโรงงานอุตสาหกรรมของคุณ อาจได้รับความเสียหายทางโครงสร้างภายในได้
ตัวอย่างของการดูดซับน้ำในผนัง
ตัวอย่างเช่น
ทำไม EPS Foam ถึงมีการดูดซับน้ำที่สูง?
ที่ EPS Foam มีค่าการดูดซับน้ำที่สูง (Water Absorption) นั้นก็เพราะว่า โครงสร้างภายในของโฟมพอลิสไตรีน (Expanded Polystyrene) ที่เป็นเซลล์แบบปิด (Close Cell) และเมื่อนำแต่ละเซลล์มาอัดกันด้วยความดันออกมาเป็นแผ่นโฟมจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่าง cell และในการตัดแผ่นโฟมทำให้เกิดการทำลายโครงสร้าง close cell บางส่วน หรือการนำฉนวนโฟมขาวไปทำห้องที่อุณหภูมิต่ำ ๆ ทำให้เกิดรอยแตกขึ้นกับโครงสร้างภายในได้ สิ่งนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ EPS Foam มีการดูดซึมน้ำมากขึ้นทุกครั้งที่ได้รับน้ำหรือไอน้ำตามระยะเวลาต่าง ๆ
Source: ฝ่ายวิจัยและพัฒนา FATEK Group
ผนังฉนวน หรือวัสดุที่มีการดูดซับน้ำสูง ไม่ดียังไง?
1. ค่าความเป็นฉนวนลดลง ค่าการนำความร้อนสูงขึ้น
การที่มีค่าดูดซึมน้ำที่สูงมาก จะทำให้มีค่าการนำความร้อนที่สูงขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิภายนอกเข้ามาภายในห้องได้มากขึ้น เนื่องจากน้ำที่สะสมอยู่ด้านในผนังเป็นตัวนำความร้อน หากฉนวนกันความร้อนติดตั้งอยู่ในสภาพที่เปียก และดูดซับน้ำสูง ไม่ใช่ผลดีเลย มีแต่ข้อเสีย เพราะสิ่งนี้จะทำให้ค่าความเป็นฉนวนลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถกันความร้อน หรือป้องกันความเย็นได้อีกต่อไป ประสิทธิภาพของการป้องกันความร้อน และป้องกันความเย็น ก็จะแย่ลง แล้วส่งผลให้ระบบปรับอากาศทำงานหนัก และเปลืองค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าไปโดยไม่จำเป็น เห็นใช่ไหมว่า “มีแต่เสีย กับเสีย”
2. ค่าการดูดซับน้ำมีผลโดยตรงกับโครงสร้างของอาคารในระยะยาว
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากน้ำ ส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร เนื่องจากมีการดูดซึมน้ำเข้าไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาใช้งาน อาจส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร ทำให้เกิดความเสียหายได้ในระยะยาว
3. การดูดซับน้ำสูง มีน้ำเป็นตัวกลางในการนำเสียง
น้ำที่สะสมทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงนั้นลดลง เนื่องจากมีน้ำ เข้ามาเป็นตัวกลางในการนำเสียงมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ผนังห้องเย็น ไม่สามารถเก็บเสียงได้ดีอีกต่อไป
4. น้ำทำให้เกิดเชื้อรา หรือแบคทีเรีย สะสมภายใน
น้ำเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิต สะสมอยู่ภายใน ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีสำหรับห้องเย็นเท่าไหร่ เนื่องจากเราใช้ในการแช่แข็งอาหาร เป็นส่วนใหญ่
ขัอ 1-4 ทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนมีความจำเป็นในการใช้ประเมินและพิจารณาความเหมาะสมสำหรับงานโครงสร้างทั้งหมด ฉะนั้นอย่าได้มองข้ามเรื่องค่าการดูดซับน้ำในผนังห้องเย็นกันนะ
Source: ฝ่ายวิจัยและพัฒนา FATEK Group
สร้างห้องเย็นใช้ผนังแบบ PIR Foam แทนการใช้แบบ EPS Foam ดูดซับน้ำได้น้อยกว่า และดีกว่า จริงไหม?
ท่านทราบหรือไม่ว่า มี Sandwich Panel ไส้โฟมชนิดอื่น ที่สามารถมาแทนที่การดูดซับน้ำได้ต่ำกว่า และดีกว่า EPS Foam นั่นก็คือ “ PIR Foam ”
และนี่คือผลการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C272 : Standard Test Method for Water Absorption of Core Materials for Structural Sandwich Constructions โดยเป็นการสรุปผลการทดสอบเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการดูดซับน้ำ และแสดงให้เห็นว่า PIR Foam นั้น มีค่าการดูดซับน้ำที่ต่ำกว่า ฉนวนแบบ EPS Foam ถึง 57.60% – 80.88% โดยค่าความต่างของการดูดซับน้ำ จะขึ้นอยู่กับแต่ละความหนาแน่น (Density) หากสังเกตจากกราฟ
ทดสอบโดย: สถาบัน NSTDA Characterization Testing Service Center
วิเคราะห์ข้อมูลโดย: ฝ่ายวิจัยและพัฒนา FATEK Group
สรุปแล้วคือ PIR Foam สามารถดูดซับน้ำได้น้อยกว่า EPS Foam ถึง 57.60% – 80.88% และนี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกผนังห้องแช่แข็ง หรือห้องเย็นที่มีค่าการดูดซับน้ำที่ต่ำ เพราะสิ่งนี้จะทำให้ค่าความเป็นฉนวนลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถกันความร้อน หรือป้องกันความเย็นได้อีกต่อไป
มีของที่ดีกว่า จะใช้ของเก่าไปทำไม? เปลี่ยนผนังสำหรับห้องเย็น เป็นผนังแบบ PIR Foam เลยซิ สนใจติดต่อเรา FATEK Group ได้เลย
สร้างห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ต้องผนังฉนวนแบบ PIR Foam เท่านั้น ดูดซับน้ำต่ำ กันไฟ ทนไฟ คลิกด้านล่าง เพื่อดูรายละเอียด