
หนึ่งโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากมายในระยะเวลาที่ผ่านมา นั่นก็คือ โรคไตวาย โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรคไตวายชนิดเฉียบพลัน และ โรคไตวายชนิดเรื้อรัง โดยแบบชนิดเฉียบพลันนั้นจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว สามารถฟื้นกลับมาทำหน้าที่ของไตได้ปกติอีก สามารถหายเป็นปกติได้ ส่วนชนิดเรื้อรังนั้น เป็นการที่ไตของเราสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ไตจะไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติอีกต่อไป ซึ่งการรักษาโรคไตวายแบบเรื้อรังนั้น สามารถรักษาได้โดยการล้างไต

Source: ไตวายระยะสุดท้าย การรักษาแบบประคับประคอง | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล (mahidol.ac.th)
โรคไตวาย คืออะไร?
โดยปกติแล้วนั้น ไต จะทำหน้าที่ในการกรองของเสีย และขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดน้ำ, เกลือแร่ และสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการ ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ไตยังมีหน้าที่ในการปรับสมดุลของน้ำ และสารเคมีที่ไว้สร้างฮอร์โมน ที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต
โรคไตวายคือ โรคที่เกิดจากการที่ไตของมนุษย์เรานั้น ได้มีการสูญเสียหน้าที่ ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ ร่างกายของเรานั้น ไม่สามารถขับน้ำ รวมไปถึงของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะเสียสมดุลของสารน้ำ และเกลือแร่ อีกทั้งยังทำให้เกิดการคั่งของสารยูเรีย จนเกิดภาวะเลือดเป็นพิษ โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทอย่างที่ได้ระบุไว้ข้างต้น ได้แก่ โรคไตวายชนิดเฉียบพลัน และ โรคไตวายชนิดเรื้อรัง
การรักษาโรคไตนั้นปัจจุบันมีด้วยกัน 3 วิธี คือ
- การควบคุมอาหาร และการรักษาด้วยยา
- การผ่าตัดเปลี่ยนไต
- การล้างไต ซึ่งแบ่งเป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง
โดยปัจจุบันการล้างไตที่สะดวกที่สุดคือการล้างไตทางช่องท้อง เพราะสามารถทำเองที่บ้านได้ โดยไม่ต้องออกไปเสี่ยงกับโรคอื่น ๆ ที่โรงพยาบาล และประหยัดเวลาในการดำเนินชีวิต

Source: A Dialysis Treatment for the Busy Patient – WSJ
การล้างไตทางช่องท้องคืออะไร? สามารถล้างที่บ้านได้หรือไม่?
การล้างไตทางช่องท้องคือ การที่เราฝังสายยางไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และมีการใส่น้ำยาเพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก โดยต้องมีการเปลี่ยนถ่ายยน้ำยาวันละ 4-5 ครั้งทุก ๆ วัน วิธีนี้ผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านได้ แต่ก็มีโอกาสติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อมีการทำไปนาน ๆ นอกจากมีนี้ยังมีการสูญเสียโปรตีนไปกับน้ำยาที่ต้องถ่ายออกเป็นจำนวนมาก จึงควรรับประทานอาหารให้เพียงพอในแต่ละวันไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดภาวะขาดอาหาร
การล้างไตทางช่องท้องมีวิธีการอย่างไร?
การล้างไตทางช่องท้องนั้น เป็นวิธีการที่ใช้น้ำยาล้างไตใส่เข้าไปในช่องท้อง โดยให้ผนังเยื่อบุช่องท้องรับหน้าที่เป็นตัวกรองฟอกเลือด จะแยกระหว่างส่วนของเลือดกับน้ำยาล้างไตเนื่องจากผนังบุช่องท้องมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ บุอยู่ภายในช่องท้อง โดยที่ช่องท้องนั้นมีลักษณะคล้ายถุงบรรจุอวัยวะต่าง ๆ ทั้งกระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับ
ส่วนน้ำยาล้างไตที่ใส่เข้าไปนั้นก็จะอยู่ในถุงส่วนของเลือดได้แก่ เส้นเลือดต่าง ๆ ที่อยู่ตามผิวของเยื่อบุช่องท้องและลำไส้ โดยมีผนังบุช่องท้องเป็นตัวกั้น และทำหน้าที่กรอง เมื่อใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องแล้วทิ้งไว้สักระยะ ของเสียในเลือดที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำยาล้างไตจะมีการแพร่กระจายผ่านเยื่อบุช่องท้องเข้ามาอยู่กับน้ำยาล้างไต ทำให้ของเสียในเลือดลดลง เมื่อถ่ายน้ำยาล้างไตออกทิ้ง ของเสียในเลือดก็จะถูกกำจัดออกไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่องกัน ของเสียในเลือดก็จะมีปริมาณลดลง
การล้างไตทางช่องท้องจะต้องให้แพทย์ทำการผ่าตัด หรือเจาะช่องท้องแล้วใส่สายยางชนิดพิเศษสำหรับใส่น้ำยาล้างไต โดยปลายสายข้างหนึ่งอยู่ในช่องท้องในตำแหน่งที่ต่ำที่สุดของช่องท้อง ส่วนปลายอีกข้างจะแทงผ่านผนังหน้าท้องออกมานอกผิวหนังของผู้ป่วยในตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย ซึ่งปลายข้างนี้จะเอาไว้ใช้ต่อกับถุงน้ำยาล้างไต และถ่ายเทเอาน้ำยาที่ใช้แล้วออกด้วยวิธีกาลักน้ำ คือ ถ้าต้องการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง ผู้ป่วยต้องยกถุงให้อยู่สูงกว่าช่องท้อง และเมื่อต้องการถ่ายน้ำยาออก ให้วางถุงอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าช่องท้อง

Source: CAPD | National Kidney Center Nepal (nkc.org.np)
ต้องล้างไตวันละกี่ครั้ง บ่อยแค่ไหน นานเท่าไหร่?
การล้างไตทางช่องท้องนั้นผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งต้องล้างอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยเปลี่ยนน้ำยาล้างไตในช่องท้องครั้งละ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร วันละ 4-6 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งให้แช่น้ำยา ค้างไว้ในช่องท้อง 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นครั้งสุดท้ายของวัน ที่น้ำยาจะถูกแช่ไว้ในช่องท้องนานกว่าปกติ เพราะต้องแช่ไว้ตลอดทั้งคืน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง
นอกจากนี้ก็ยังมีการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่อง ซึ่งจะเป็น เครื่องมือช่วยล้างไตในเวลากลางคืน หรือในขณะที่ผู้ป่วยหลับ เครื่องจะควบคุมการเปลี่ยนน้ำยาแบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และสามารถนอนหลับในเวลากลางคืนได้อย่างสบายขึ้น
ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้น้ำยาค้างอยู่ในช่องท้องนานที่สุด และลดเวลาในการปล่อยน้ำยาเข้าและออก จากเดิมที่ใช้วิธีกาลักน้ำ ซึ่งใช้เวลาในการปล่อยถ่ายน้ำยา และใส่น้ำยาประมาณ 1 ชั่วโมง ได้เปลี่ยนมาเป็นการปล่อยน้ำยาด้วยเครื่อง ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วย เพราะไม่ต้องแขวนถุงน้ำยา เนื่องจากเครื่องไม่ได้ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกในการปล่อยน้ำยาเข้า – ออก

Source: Why A Cheaper, More Convenient Dialysis Option Isn’t More Common (wfyi.org)
ทำไมถึงควรล้างไตที่บ้านในห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)?
วิธีการทั้งหมดที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ควรมีกระบวนการที่สะอาดที่สุด เพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อจากภายนอกให้มากที่สุด สถานที่ที่ทำนั้นจึงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเป็นไปได้ควรทำใน ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room) ที่เอื้อต่อการทำความสะอาด และการควบคุมเชื้อต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาสู่ภายในห้องได้ง่าย เนื่องจากห้องคลีนรูมนั้นทำความสะอาดได้ง่าย และมีการควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ให้มีไม่เกินระดับที่กำหนดไว้

โดยสามารถเลือกขนาด และรายละเอียดให้ตรงกับความต้องการได้
โดยห้องคลีนรูมของ FATEK Group ของเราสร้างจาก แผ่นฉนวนกันความร้อน (Sandwich Panel) คุณภาพสูง และราคาเป็นมิตร โดยมีไส้ฉนวนให้เลือกถึงสองแบบได้แก่
- PIR Foam หรือโฟมเหลืองกันไฟ โดยโฟมชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ดีคือเป็น ฉนวนกันไฟไหม้ และ กำลังเป็นที่นิยมทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต
- PS Foam หรือโฟมขาว น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และราคาประหยัด
ถ้าหากท่านสนใจให้ทาง FATEK Group ของเราเข้าไปติดตั้ง ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room) เพื่อให้การรักษาของท่านมีความปลอดภัย และสะอาดที่สุด ก็สามารถติดต่อทาง FATEK Group ได้ทุกช่องทางตลอดเวลา
อ้างอิงข้อมูลจาก: https://www.bangkokhealth.com/17788

FATEK Group บริษัทรับสร้างติดตั้งห้องคลีนรูม ห้องสะอาด โดยใช้ผนัง Sandwich Panel คุณภาพ ราคาถูก พร้อมทีมช่างมืออาชีพ และราคาเป็นธรรม
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
Sandwich Panel คือ อะไร? มีกี่ชนิด? ตอบโจทย์การใช้งานยังไง?
F-Grade Foam คือ อะไร?
ลักษณะประตูสำหรับห้องเย็น