
ฉนวน PE Foam คืออะไร?
โฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene) หรือฉนวน PE เป็นแผ่นฉนวนที่ผลิตจากโพลีเอทิลีน ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ยอดนิยมด้านความทนทานและวัสดุน้ำหนักเบา โฟมโพลีเอทิลีนยังมีโครงสร้างฉนวนที่แข็งแรงและทนทานต่อแรงกระแทก เป็นตัวเลือกที่ราคาถูกและ สามารถนำมาใช้เป็นฉนวนใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีทได้ ติดตั้งง่ายและมีความยืดหยุ่นสูงจึงเข้ากับลอนหลังคาเมทัลชีทได้พอดี

Source: Adobe Stock
ฉนวน PIR Foam คืออะไร?
ฉนวนกันความร้อน PIR (Polyisocyanurate) Foam อ่านว่า พีไออาร์ โฟม หรือ พอลิไอโซไซยานูเรต โฟม คือ การพัฒนาโพลียูรีเทนโฟม (PUR Polyurethane) โดยมีคุณสมบัติเหมือน PU Foam มีความพิเศษกว่าตรงคุณสมบัติ เป็นโฟมกันไฟลาม ที่ดีกว่า และค่าการเกิดควันต่ำกว่า แต่ PIR จะมีข้อด้อยตรงที่มีฝุ่นผงมากกว่า ในต่างประเทศนิยมใช้ฉนวนกันร้อน PIR มากขึ้น เนื่องจากให้ความปลอดภัยมากกว่าทั้งดับไฟได้ไวกว่า และปริมาณควันต่ำกว่า มีน้ำหนักเบา เหมาะกับการขนย้ายก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร มีความแข็งแรงสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับใช้เป็นผนังกันความร้อนสำเร็จรูป กันไฟ ไร้ควัน ในทุก ๆ อุตสาหกรรม PIR Foam เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันของวงแหวนไอโซไซยานูเรตจำนวนมาก ซึ่งพอลิเมอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการสร้างชั้นคาร์บอนมาปกคลุมผิวหน้าไว้

หลังคาฉนวน PE Foam vs PIR Foam ใครดีกว่ากัน?


ปัญหาและข้อเสีย ของการใช้งานฉนวน PE Foam vs PIR Foam
ข้อเสียของฉนวน PE Foam
- เมื่อติดไฟจะเสียสภาพทันที เป็นถ่านดำ ๆ แต่ไม่ลามไฟ
- และเมื่อกาวเสื่อมสภาพ จะหลุด ลอก ร่วง และมีโอกาสที่ของเหลวและน้ำจะรั่วไหล
- หากมีช่องว่างระหว่างแผ่นหลังคา มีโอกาสเกิดความชื้นสะสมและแผ่นเมทัลชีทอาจเกิดสนิมได้
- มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าฉนวนแบบ PIR Foam โดยอายุการใช้งานส่วนมากจะขึ้นอยู่กับสภาพกาว อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 1-3 ปี
- มีคุณสมบัติการป้องกันความร้อนด้อยกว่าฉนวนแบบอื่น ๆ
- ดูดซับเสียงได้ไม่ดี
ข้อเสียของฉนวน PIR Foam
- มีราคาที่สูงกว่าฉนวน PE Foam และแพงกว่าฉนวนกันความร้อนประเภทอื่น ๆ

ข้อดีของการใช้งานฉนวน PE Foam vs PIR Foam
ข้อดีของฉนวน PE Foam
- มีราคาค่อนข้างถูก
- น้ำหนักค่อนข้างเบา
- มีความยืดหยุนสูง ห่อหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์อีกชั้น
- คุณสมบัติเด่นคือ บาง เบา ติดตั้งง่ายและราคาถูก
ข้อดีของฉนวน PIR Foam
- มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทั้งยังน้ำหนักเบา
- อายุการใช้งานยาวนาน ถึง 30 ปี (แบบสำเร็จรูปจากโรงงาน ไม่ใช่แบบพ่น)
- ทำหน้าที่กันเสียงได้ระดับหนึ่งด้วย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำมาใช้ร่วมกับหลังคาเมทัลชีทที่มักเจอปัญหาเสียงดังเมื่อฝนตก
- มีประสิทธิภาพดูดซับความชื้น หรือดูดซับน้ำต่ำ
- เมื่อเกิดการเผาไหม้ฉนวน PIR จะเกิดกลุ่มควันที่น้อยมาก (น้อยกว่า PU Foam อีกนะ)
- ทนความร้อนได้สูงถึง 400°C
- เมื่อเกิดการเผาไหม้ฉนวน PIR จะเกิดควันในปริมาณต่ำ จึงช่วยลดอัตราในการสูดสารที่เป็นอันตราย
- การลุกไหม้ PIR จะสร้างชั้นคาร์บอนมาปกคลุมผิวหน้าไว้ แล้วจะเกิดผิวดำเกรียม (Char) เพื่อช่วยป้องกันก๊าซออกซิเจนสัมผัสเนื้อโฟมที่อยู่ด้านใน ซึ่งเป็นการป้องกันไฟลาม
จากข้อดี และข้อเสียด้านบนจะเห็นได้ว่า PIR Foam ชนะ PE Foam แบบชนะขาดลอย ทั้งเรื่องคุณสมบัติการกันความร้อน อายุการใช้งาน รวมไปถึงการป้องกันไฟลาม PIR Foam ก็ทำได้ดีกว่า จะมีแพ้เรื่องเดียวคือเรื่องของราคาของ PIR Foam อาจจะสูงกว่า PE Foam แต่จะดีกว่าไหม ถ้าจะเปลี่ยนจากหลังคาฉนวน PE เป็นแบบฉนวน PIR ด้วยการเพิ่มเงินอีกเล็กน้อย แต่ได้อายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้นมา อย่าให้เป็นดั่งสำนวนเปรียบเปรยไทยที่ว่า
“เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
หมายความว่า เสียเพียงเล็กน้อยแต่ไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องมาเสียมากในที่สุด
หากคุณสนใจหลังคาฉนวน PIR สามารถปรึกษา FATEK Group ได้ฟรี เรามีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษา อีกทั้งหลังคาของเรามีความหนาแน่นให้เลือกอย่างหลากหลาย สนใจคลิกด้านล่างเพื่อดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เบื้องต้นได้เลย

หลังคามีฉนวน PIR กันความร้อนใต้หลังคา พร้อมลอนยึดติดแผงโซล่าเซลล์
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
Sandwich Panel คือ อะไร? มีกี่ชนิด? ตอบโจทย์การใช้งานยังไง?
F-Grade Foam คือ อะไร?
ลักษณะประตูสำหรับห้องเย็น