LCPHack

ก่อนที่เราจะหาคำตอบกันว่า “กว่าจะมาเป็น แผ่นฉนวน PIR Foam ที่ดีที่สุด” อย่างไรนั้น เราไปทำความรู้จักกับต้นกำเนิดของแผ่นฉนวนสำเร็จรูปที่ทำจาก โฟม PIR กันก่อนว่า มีที่มาอย่างไร ?

PIR Foam

ต้นกำเนิดของแผ่นฉนวน PIR Foam มีที่มาอย่างไร ?

นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันนามว่า อ็อตโต้ ไบเออร์ (Otto Bayer) และทีมงานจาก IG Farben ในเมือง เลเวอร์คูเซ่น (Leverkusen) ประเทศเยอรมัน ได้คิดค้นวัสดุพลาสติก ในปี ค.ศ.1937 ที่นับได้ว่าเป็นวัสดุแห่งอนาคต ในหลาย ๆ อุตสาหกรรมในขณะนั้น ได้แก่ โพลียูรีเทน (Polyurethane) ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1937 และได้มีการจดสิทธิบัตร “กระบวนการสำหรับการผลิตโพลียูรีเทนและโพลียูเรีย” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1937

ต่อมาในปี ค.ศ.1954 ได้มีการนำ โพลียูรีเทน (Polyurethane) กับน้ำมาใช้ จึงได้มีการผสมสาร และเกิดปฏิกิริยาของสารโดยความบังเอิญ จนกลายมาเป็น PU Foam (Polyurethane Foam)

PU Foam
PU Foam

ต่อมาในปี ค.ศ.1967 นักวิทยาศาสตร์ ได้นำ PU Foam (Polyurethane Foam) มาปรับปรุงเสถียรภาพด้านการนำความร้อน รวมไปถึงความต้านทานไฟ เพื่อสร้างฉนวนชนิดใหม่โดยการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่อุณหภูมิสูงขึ้น และมีคุณสมบัติการป้องกันไฟมากกว่าโฟมชนิดอื่น จนได้มาเป็น Polyisocyanurate Foam หรือ PIR Foam นั่นเอง

PIR Foam
PIR Foam

Source : www.vovgroup.com

แผ่นฉนวน PIR Foam ดีกว่าแผ่นฉนวนชนิดอื่นอย่างไร ?

แผ่นฉนวน PIR Foam (Polyisocyanurate Foam) เป็นวัสดุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแผ่นฉนวน PU Foam แต่!!! โฟม PIR จะทนความร้อนได้ดีกว่า เนื่องจากโครงสร้างเคมีเป็นวงแหวนที่ทนต่อความร้อนและเปลวไฟ สามารถทนไฟได้สูงอุณหภูมิมากกว่า 400 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิการสลายตัวของวงแหวนไอโซไซยานูเรต ไม่ใช่อุณหูมิที่เป็น Service Temperature)

PU Foam ถึงจะเป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดี แต่ก็ไม่สามารถกันไฟได้ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้เกิดควันเป็นจำนวนมาก

ซึ่ง PIR Foam เป็นแผ่นฉนวนติดไฟได้ค่อนข้างยาก สามารถดับไฟได้เอง ดังนั้นเมื่อเกิดเพลิงไหม้ จะเกิดควันในปริมาณต่ำ จึงช่วยลดอัตราในการสูดสารที่เป็นอันตราย และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้คนที่ติดอยู่ในบริเวณนั้นมากขึ้น แถมราคายังใกล้เคียงกันอีกด้วย !!

แผ่นฉนวน PIR Foam เหมาะกับการใช้งานอะไรบ้าง ?

การใช้งานด้านนอก

  • แผ่นผนังนอกอาคาร เช่น โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา, ห้องเย็น (Cold Room, Cold Storage), ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room) ห้องอบ, อาคารสำนักงาน เป็นต้น
  • หลังคากันความร้อน
ผนังภายนอกอาคาร
ผนังภายนอกอาคาร
โรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรม
ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)
ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)
ห้องเย็น (Cold Room, Cold Storage)
ห้องเย็น (Cold Room, Cold Storage)
หลังคากันความร้อน
หลังคากันความร้อน 

การใช้งานด้านใน

  • ผนังกั้นภายในอาคาร
  • แผ่นฝ้าเพดาน
  • บานประตู / บานหน้าต่าง ในห้องควบคุมอุณหภูมิ
แผ่นฉนวน PIR
ผนังกั้นภายในอาคาร
แผ่นฝ้าเพดาน
แผ่นฝ้าเพดาน
บานประตู / บานหน้าต่าง ในห้องควบคุมอุณหภูมิ
บานประตู / บานหน้าต่าง ในห้องควบคุมอุณหภูมิ

แผ่นฉนวนสำเร็จรูป PIR มีระบบล็อก 2 รูปแบบ

ระบบล็อกแบบ Z-Z JOINT

เป็นระบบที่มีการพับเหล็กเป็นตัว Z ทำให้ขอบของแผ่นฉนวน มีความแข็งแรง และระหว่างรอยต่อของแผ่นผนังไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่น ทำให้เก็บอุณหภูมิได้ดี และยังป้องกันการรั่วซึมได้ดี พร้อมทั้งแข็งแรงทนต่อแรงปะทะ เนื่องจากมีการใช้ปริมาณเหล็กบริเวณจุดพับเชื่อมต่อระหว่างแผ่นลึกมากถึง 11.96 ซม.

Z-Z JOINT
Z-Z JOINT

ระบบล็อกแบบ SECRET JOINT

เป็นระบบล็อคที่มีการยึดที่แน่นหนาที่สุด โดยระบบนี้ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นผนังภายนอก และสามารถยึดสกรูกับโครงสร้างได้โดยตรง และยังมีระบบซีลที่ดี ป้องกันการรั่วซึมได้ ยืนหนึ่ง ด้านความแข็งแรงทนต่อแรงปะทะ เนื่องจากมีการใช้ปริมาณเหล็กบริเวณจุดพับเชื่อมต่อระหว่างแผ่นลึกมากถึง 11.96 – 17.54 ซม.

SECRET JOINT
SECRET JOINT

แผ่นฉนวนPIR ดีกว่าชนิดอื่นอย่างไร ? หลายท่านที่อ่านบทความข้างต้นคงได้คำตอบกันแล้ว!! จึงเรียกได้ว่า แผ่นฉนวนPIR เป็นทางเลือกที่ดีเลยสำหรับในยุคสมัยนี้ หากท่านใดที่ยังสับสนสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 5 คุณภาพของ Sandwich panel PIR ที่ได้จาก FATEK Group

เมื่อต้องการแผ่นฉนวนสำเร็จรูป PIR ที่มีคุณภาพ สามารถติดต่อทีมงาน FATEK Group ได้ตลอดเวลาในทุก ๆ ช่องทาง แล้วท่านจะไม่ผิดหวังที่เลือกใช้บริการกับเรา

Banner ปก web PIR

สร้างห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ต้องผนังฉนวนกันไฟ PIR Foam เท่านั้น ดูดซับน้ำต่ำ กันไฟ ทนไฟ คลิกด้านล่าง เพื่อดูรายละเอียด

ผลิตภัณฑ์แผ่นฉนวนสำเร็จรูป PIR ผนังห้องแช่แข็ง สำหรับห้องเย็น ไม่ลามไฟ ดูดซับน้ำต่ำ เหมาะมากสำหรับสร้างห้องเย็น

Translate »